ยินดีต้อนรับเข้าสู่ webblog นางสาว มณีรัตน์ วังมฤค สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ทั่วไป หมู่เรียนที่ 2

หน่วยที่ 3

หน่วยที่ 3 การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน

                 การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
             1. การเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้โดยทั่วไป หมายถึง ความสัมพันธ์ต่างๆ จนถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืออาจหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ
             2. การสอน (Instruction) หมายถึง การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการให้การศึกษาและการฝึกอบรมโดยทั่วไป ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูสื่อสาร และวิธีสอน
                                1. สื่อ ( Medium หรือ Media) สื่อเป็นช่องทางของการสื่อสาร (Communication) มาจากรากศัพท์ภาษาลาติน หมายถึง ระหว่าง (Between) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ ผู้สอนและอื่นๆ ซึ่งเมื่อใช้สิ่งเหล่านี้นำสารเพื่อการเรียนการสอน เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า สื่อการเรียนการสอน
                                  สรุปได้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ครูและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                2. สาร (Messages) ในกิจกรรมการเรียนการสอนใดๆ ก็ตาม ย่อมมีสาร หรือเนื้อหาสาระในการสื่อสารการสอน ซึ่งสารดังกล่าวอาจจะเป็นเนื้อหาวิชา แนวทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คำถามเกี่ยวเรื่องที่ศึกษาคำตอบ หรือคำอธิบายรวมทั้งข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับสารก็คือ สื่อจะเป็นพาหะนำสาร
          ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูหรือผู้สอนที่จะต้องเลือกสรรสื่อที่ดี ถูกต้องเหมาะสม สามารถนำสารสู่ผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             3. วิธีสอน (Instructional Methods) โดยทั่วไป มักอธิบายในลักษณะของการนำเสนอแบบต่างๆ (Presentation Forms)เช่น การบรรยาย และการอภิปราย เป็นต้น วิธีสอนกับสื่อการสอนไม่เหมือนกัน วิธีสอนเป็นลักษณะของกระบวนการที่ใช้ในการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียน หรือเนื้อหาสาระในการเรียน ส่วนสื่อเป็นเพียงพาหะนำสารหรือเนื้อหาความรู้ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับ
การสื่อสารการสอนการสอน เป็นการจัดสภาพแวดล้อมและเนื้อหาความรู้ (
Information) เพื่อเกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การส่งผ่านความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียนเป็นการสื่อสาร จากหลักการสื่อสารจะเห็นว่าการสื่อสารกับการเรียนการสอนมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก จนกล่าวได้ว่าการเรียนการสอนเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง
          การเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเฉพาะลึกซึ้งกว่าการสื่อสาร การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการให้ข่าวสารความรู้ แต่การเรียนการสอนเป็นการสื่อสารเฉพาะที่มีการออกแบบวางแผน (Designed) ให้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอน การสื่อสารเป็นเพียงกระบวนการพื้นฐานในการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
          การสอนเป็นการจัดการเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การถ่ายโอนความรู้หรือสารสนเทศจากผู้สื่อไปยังผู้รับ เรียกว่าการสื่อสาร การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ ย่อมหมายถึงการได้รับความรู้ข่าวสารใหม่ๆ ด้วย ด้วยเหตุนี้การสอนจึงเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง ดังนั้น เพื่อให้สามารถใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสาร และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนวิธีการแก้ไข เพื่อเป็นแนวคิดใน การใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนต่อไป
1. องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
          1) ผู้สื่อ (Source, Sender หรือ Encoder)
          2) ผู้รับ (Receiver หรือ Decoder) และ
          3) สาร (Messages)
2. กระบวนการสื่อสาร (Communication Process)
          กระบวนการสื่อสารอาจอธิบายได้หลายรูปแบบ (Models) รูปแบบที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ SM CR Model
3. ปัญหาการสื่อสาร
          ปัญหาการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านจิตวิทยา เช่น ปัญหาเกี่ยว กับผู้รับไม่สนใจ ไม่ยอมรับรู้ ผู้สื่อสารชอบใช้ภาษาพูด (Verbal ism) ส่วนปัญหาด้านกายภาพ เช่น ความไม่สะดวก และความห่างไกลจากแหล่งความรู้ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในกระบวนการสื่อสารถ้านำสื่อต่างๆ เข้ามาใช้ก็จะสามารถลดปัญหาต่างๆ ดังกล่าว ภาพยนตร์ (Motion Pictures)ได้ความต่อเนื่องระหว่างรูปธรรมนามธรรมจำแนกและการบูรณาการ เป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ ดังนั้นการชี้แนะจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสอน และการสอนก็เป็นภารกิจสำคัญของครู ด้วยเหตุนี้ ครูจึงต้องเป็นบุคคลที่สามารถจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนได้อย่างเหมาะสมกับตัวผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามจุดมุ่งหมายของการสอน

                 การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
                          ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร
การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต  มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา  การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์  การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก   การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร  การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคมการสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น   การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง   ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ  สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชนและสังคมในทุกด้าน   
                   ความหมายของการสื่อสาร
            คำว่า  การสื่อสาร (communications)  มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า  communistหมายถึง  ความเหมือนกันหรือร่วมกัน   การสื่อสาร (communication)    หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร  ข้อมูล ความรู้ประสบการณ์  ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมหรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร  โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน  บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล
                   ความสำคัญของการสื่อสาร
1.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร  ทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน การทำธุรกิจต่าง ๆโดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา   พัฒนาการทางสังคมจึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร
2.  การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม    ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม   ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี  สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง  วิถีชีวิตของผู้คน  ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
3.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคมการพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯรวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสาร จำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ
          องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
                               1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
            2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
            3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
            4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
            5. ความเข้าใจและการตอบสนองกระบวนการสื่อสาร
          กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมแนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆเมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสารก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สีการเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่า ข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส(Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels)ประเภทต่าง ๆหรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสารเมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีตหรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้นและมีปฏิกริยาตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจการตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ทั้งนี้ข่าวสารที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการสื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวนหรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร
          1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
          2. มีทักษะในการสื่อสาร
          3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็วและมีความจำดี
          4. มีความซื่อตรงมีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
          5. มีความคิดสุขุมรอบคอบ
          6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
          7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
          8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
          9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
         10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคนการสื่อสารกับการศึกษา
                  องค์ประกอบของการสื่อสารประกอบด้วย
                               พัฒนาการของการสื่อสาร   การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของโลกนับตั้งแต่มนุษย์ได้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสังคมขนาดใหญ่นั้น อาจแบ่งออกเป็น 3 ยุคที่สำคัญตามลำดับ คือ เริ่มแรกเป็นยุคของเกษตรกรรมต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็นยุคอุตสาหกรรมและถึงปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นยุคของการสื่อสาร
                               เหตุที่ยุคปัจจุบันได้รับการเรียกขานว่าเป็นยุคของการสื่อสารเพราะเป็นยุคที่เทคโนโลยีด้านการสื่อสารข้อมูลต่างๆ มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมากและอัตราความเจริญเป็นไปอย่างรวดเร็วหลายอย่างแทบไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถคิดค้นขึ้นมาได้ในศตวรรษนี้ความเจริญก้าวหน้าของการสื่อสารดังกล่าว ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้นั้นย่อมจะมีพัฒนาการมายาวนานพร้อมกับการเกิดขึ้นของสังคมมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณ
                  คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
                                 การเรียนการสอนเป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง มีทั้งผู้ส่งสาร อันได้แก่ครูผู้สอน มีสารคือความรู้หรือประสบการณ์ที่จัดขึ้น ผู้รับสารคือ ผู้เรียนมีกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยเครื่องมือ สื่อการเรียนการสอนต่างๆภายใต้สถานการณ์ที่จัดขึ้นในห้องเรียน หรือสถานการณ์ที่จัดขึ้นในสถานที่อื่นและมีจุดหมายของหลักสูตรเป็นเครื่องนำทาง
                                 จุดมุ่งหมายของการสื่อสารในการเรียนการสอน คือการพยายามสร้างความเข้าใจ ทักษะ ความรู้ ความคิดต่างๆ ร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ความสำเร็จของการเรียนการสอนพิจารณาได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้แต่ต้นตามลักษณะการเรียนรู้นั้นๆ ปัญหาสำคัญของการสื่อสารในการเรียนการสอนคือทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียนได้อย่างถูกต้องครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการสื่อสารและที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับครู คือการใช้สื่อการเรียนการสอนต่างๆ อย่างเหมาะสมนอกเหนือการใช้คำพูดของครูแต่เพียงอย่างเดียว
                 ทั้งนี้เพราะสื่อหรือโสตทัศนูปกรณ์มีคุณลักษณะพิเศษบางประการที่ไม่มีในตัวบุคคล คือ
                               1.   จับยึดประสบการณ์ เหตุการณ์กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น สามารถใช้สื่อต่างๆบันทึกไว้เพื่อนำมาศึกษาได้อย่างกว้างขวาง เช่น การบันทึกภาพ บันทึกเสียง การพิมพ์ฯลฯ
                               2.   ดัดแปลงปรุงแต่งเพื่อทำสิ่งที่เข้าใจยาก ให้อยู่ในลักษณะที่ศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น การย่อส่วนขยายส่วน ทำให้ช้าลง ทำให้เร็วขึ้น จากไกลทำให้ดูใกล้จากสิ่งที่มีความซับซ้อนสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น
                              3.   ขยายจ่ายแจก ทำสำเนาหรือเผยแพร่ได้จำนวนมาก เช่น รายการวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพถ่ายจึงช่วยให้ความรู้ต่างๆ เข้าถึงผู้รับได้เป็นจำนวนมากพร้อมกัน
การเลือกสื่อการศึกษา
                            สื่อการศึกษาจะให้ประโยชน์อย่างมาก  ถ้ามีการใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม  ดังนั้นในการเลือกสื่อการศึกษาควรพิจารณาสิ่งต่างๆ ดังนี้
        1.1 เลือกสื่อการศึกษาที่สอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของการเรียนการสอนเรื่องนั้นๆ
        1.2 เลือกสื่อการศึกษาที่สอดคล้องกับลักษณะการตอบสนองและพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้น พฤติกรรมของผู้เรียนจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้เรียนมีความพึงพอใจในกิจกรรมและประสบการณ์ที่ได้รับ และความพึงพอใจย่อมก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
          1.3    เลือกสื่อการศึกษาให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
          1.4 เลือกสื่อการศึกษาให้เหมาะสมกับความสามารถและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน สื่อการศึกษาที่จัดให้ผู้เรียนควรง่ายและอยู่ในขอบเขตความสามารถของผู้เรียน
           1.5 เลือกสื่อการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ มีความสมบูรณ์ สามารถสื่อความหมายได้ถูกต้อง
           1.6 เลือกสื่อการศึกษาที่มีอยู่ในท้องถิ่นเพื่อประหยัดเวลาและงบประมาณ
           1.7  เลือกสื่อการศึกษาที่พอจะหาได้โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพ ความปลอดภัย  ประหยัด และสามารถใช้ได้สะดวก
             ทฤษฎีการสื่อสารและการสื่อความหมาย
              การสื่อสาร(communication) คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือ พฤติกรรมที่เข้าใจ โดยมีองค์ประกอบดังนี้
                                                     ผู้ส่ง ---ข้อมูลข่าวสาร ---> สื่อ ---ผู้รับ
                             ผู้ส่งสาร คือ  ผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่าสื่อ ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียวผู้ส่งจะทำหน้าที่ส่งเพียงประการเดียวแต่ถ้าเป็นการสื่อสาร 2 ทาง ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง ต่อเรื่องที่จะส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผู้รับก็จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
                              ข่าวสาร  ในการะบวนการติดต่อสื่อสารก็มีความสำคัญ ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส เพื่อสะดวกในการส่งการรับและตีความ เนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อความหมายง่ายขึ้น
                                 สื่อหรือช่องทางในการรับสาร  คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเลกทรอนิกส์
                                  ผู้รับสาร  คือ ผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผู้รับสารจะต้องมีประสิทธิภาพในการรับรู้ มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเอง
                  3.1   ทฤษฎีการสื่อสาร
                                   ทฤษฎีการสื่อสาร  คือ  การอธิบายการสื่อสารในด้านความหมาย กระบวนการ องค์ประกอบ วิธีการ  บทบาทหน้าที่  ผล  อิทธิพล  การใช้  การควบคุม  แนวคิดของศาสตร์ต่าง ๆ แนวโน้มอนาคต  และปรากฏการณ์เกี่ยวกับการสื่อสาร  แต่การอธิบายต้องมีการอ้างอิงอย่างมีเหตุผลที่ได้จากหลักฐาน  เอกสาร หรือปากคำของมนุษย์
                  3.2   ลักษณะและหลักการสื่อสาร    แบ่งออกได้ 3 วิธี คือ
                           1.1      การสื่อสารด้วยวาจา หรือ "วจนภาษา" (Oral Communication) เช่น การพูด การร้องเพลง เป็นต้
                            1.2      การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ "อวจนภาษา" (Nonverbal Communication) และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน (Written Communication) เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง ภาษามือและตัวหนังสือ เป็นต้น
                              1.3      การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัสหรือการเห็น (Visual Communication) เช่น การสื่อสารด้วยภาพ โปสเตอร์ สไลด์ เป็นต้นหรือโดยการใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น ลูกศรชี้ทางเดิน เป็นต้น
                 3.3  ประเภทของการสื่อสาร    แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
                         1.  การสื่อสารในตนเอง (Intrapersonal or Self-Communication) เป็นการสื่อสารภายในตัวเอง หมายถึง บุคคลผู้นั้นเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน เช่น การเขียนและอ่านหนังสือ เป็นต้น
                         2.  การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างคน 2 คน เช่น การสนทนา หรือการโต้ตอบจดหมายระหว่างกัน เป็นต้น
                         3. การสื่อสารแบบกลุ่มชน (Group Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก เช่น การสอนในห้องเรียนระหว่างครูเพียงคนเดียวกับนักเรียนทั้งห้อง หรือระหว่างกลุ่มชนกับบุคคล เช่น กลุ่มชนมาร่วมกันฟังคำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น
                        4. การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการสื่อสารโดยการอาศัยสื่อมวลชนประเภทวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น นิตรสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ แผ่นโปสเตอร์ ฯลฯ เพื่อการติดต่อไปยังผู้รับสารจำนวนมากซึ่งเป็นมวลชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารเดียวกันในเวลาพร้อม ๆ หรือไล่เรี่ยกัน
                3.4 กระบวนการสื่อสาร
                                    กระบวนการสื่อสาร    (Comunication Process)  หมายถึง การส่งสารจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบการสื่อสารขั้นต้น วิธีที่ใช้มากที่สุด คือ การพูด การฟัง และการใช้กิริยาท่าทาง
                 3.5 องค์ประกอบของการสื่อสาร
                                  1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร หรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communicatior or Source) เป็นแหล่งหรือผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว แนวความคิด ความรู้ ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มชนก็ได้ ผู้ส่งนี้จะเป็นบุคคลเพียงคนเดียว กลุ่มบุคคลหรือสถาบัน โดยอยู่ในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายอย่าง
                                     2. เนื้อหาเรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร บทเพลง ข้อเขียน ภาพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านี้
                                    3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media or Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวความคิด เหตุการณ์ เรื่อราวต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ
                                   4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver or Target Audience) ได้แก่ ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือที่ผู้ส่งส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบันก็ได้
                                    5. ผล (Effect) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้น   คือ การที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ พอใจหรือโกรธ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสาร และจะเป็นผลสืบเนื่องต่อไปว่าการสื่อสารนั้นจะสามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้รับ สื่อที่ใช้ และสถานการณ์ในการสื่อสารเป็นสำคัญด้วย
องค์ประกอบของการสื่อสารในการเรียนการสอน
1. ผู้ส่งสารในการเรียนการสอน คือ ผู้สอน ครู วิทยากร หรือผู้บรรยาย
2. เนื้อหาความรู้ ที่ส่งให้แก่ผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหาของวิชาตามหลักสูตรที่กำหนดไว้โดยจะแบ่งไว้เป็นบทเรียน มีการเรียงลำดับความยากง่ายเพื่อความสะดวกในการนำมาสอน
3. สื่อหรือช่องทางที่ใช้ส่งเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียน
4. ผู้รับสารในการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้เรียน ซึ่งมีระดับอายุ สติปัญญา และความรู้พื้นฐานที่แตกต่างกันในแต่ละระดับชั้น จึงทำให้มีความสามารถในการถอดรหัสแตกต่างกันไปด้วย
5. ผลที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน หมายถึง ผลของการเรียนรู้เพื่อแสดงว่าผู้เรียนสามารถเข้าใจสารหรือความรู้ที่รับมาหรือไม่
6. ปฏิกริยาสนองกลับของผู้เรียน หมายถึง การที่ผู้เรียนตอบคำถามได้หรืออาจจะถามคำถามกลับไปยังผู้สอน หรือการที่ผู้เรียนแสดงอาการง่วงนอน ยิ้ม หรือแสดงกริยาใด ๆ ส่งกลับไปยังผู้สอน
3.6   การสื่อสารกับการเรียนการสอน
การสื่อสารกับการเรียนการสอนในระบบการเรียนการสอน หากพิจารณากระบวนการเรียนการสอนแล้วจะมีลักษณะเป็นกระบวนการของการสื่อสารหลายประการ ทั้งทางด้านองค์ประกอบและกระบวนการ นั่นคือ ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสารโดยมีผู้เรียนเป็นผู้รับสารซึ่งต้องอาศัยสื่อเป็น ตัวกลาง และประสิทธิภาพของการเรียนการสอนนั้นวัดได้ โดยคุณภาพและปริมาณของการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้เรียน ในระบบการเรียนการสอนจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ คือ จุดมุ่งหมาย ครูวิธีการสอน สื่อการสอนและผู้เรียนซึ่งแต่ละองค์ประกอบเหล่านี้ จะต้องมีความสำคัญเท่าเทียมกันและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจึงจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพการทดสอบประสิทธิภาพ อาศัยข้อมูลย้อนกลับเช่นเดียวกับขบวนการของการสื่อสาร ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลย้อนกลับจากผู้รับเป็นเครื่องตรวจสอบว่า การถ่ายทอดความคิด หรือการสื่อสารของผู้ส่งสารนั้นได้ผลแล้วหรือยัง และถ้ายังไม่ได้ผลดีจะต้องวิเคราะห์ระบบเพื่อปรับปรุงแก้ไขจนแน่ใจว่าได้ผลจึงใช้สื่อสารต่อไป สำหรับสื่อกลางในการเรียนการสอนอาจแบ่งประเภทออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. วัสดุ (Material or Software)  ได้แก่ วัสดุที่ทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียงและอักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1 วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่ หนังสือเรียนหรือตำรา ของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศเป็นต้น
1.2  วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไกเป็นตัวนำเสนอความรู้ ได้แก่ ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ เส้นเทปบันทึกเสียง แผ่นซีดี โปรแกรมคอมพิวเตอร์ รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ เป็นต้น
2. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Device or Hardware)  ได้แก่ สื่อที่เป็นตัวกลางหรือทางผ่าน ของความรู้ ซึ่งสามารถทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหว หรือไปสู่นักเรียนจำนวนมากหรือไปได้ไกล ๆ รวดเร็ว ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย เป็นต้น
3.เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ (Technique or Method) ได้แก่ ประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น การสาธิต การแสดงบทบาท การแสดงละครและหุ่น การศึกษานอกสถานที่ การจัดแสดงและนิทรรศการ ตลอดจนเทคนิคในการเสนอบทเรียนด้วยสื่อประเภทวัสดุและเครื่องมือ เป็นต้น และเพื่อให้ครูสามารถเลือกและใช้สื่อในการสอนให้ได้ผลดีขอเสนอหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกและใช้สื่อดังนี้
1. การเลือกสื่อการเรียนการสอน
1.1 เลือกสื่อการเรียนการสอนและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องกำหนดจุดมุ่งหมาย ในรูปของพฤติกรรม ซึ่งครอบคลุมลักษณะพฤติกรรมทั้ง 3ประเภท คือ พุทธิพิสัย (Cognitive) ทักษะพิสัย(Phychromoter) จิตพิสัย (Affective) ทั้งนี้ เพราะจุดมุ่งหมายของการสอนแตกต่างกัน ย่อมให้ประสบการณ์การเรียนรู้ต่างกัน ดังนั้นการเลือกสื่อการเรียนและประสบการณ์ในการเรียนการสอน
1.2 เลือกสื่อการเรียนการสอนและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับลักษณะการตอบสนองและพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้น พฤติกรรมของผู้เรียนจะเกิดขึ้นได้ ถ้าผู้เรียนมีความพึงพอใจในกิจกรรมและประสบการณ์ที่ได้รับความพึงพอใจย่อมก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี ดังนั้นการเลือกสื่อการเรียนและประสบการณ์การเรียนการสอน จึงควรเลือกสื่อการเรียนการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพอใจ มีการตอบสนองและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่คาดหวัง
1.3 เลือกสื่อการเรียนการสอนและประสบการณ์การเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสบการณ์เดิมของแต่ละคนวัสดุและประสบการณ์ที่จัดให้แก่ผู้เรียนควรง่ายและอยู่ในขอบเขตความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนสื่อการเรียนการสอนนั้นจะต้องช่วยให้ผู้เรียนสามารถรับประสบการณ์ใหม่ได้เป็นอย่างดี และไม่จำเป็นต้องใช้กับผู้เรียนทั้งชั้นเหมือนกันหมด เพราะสื่อการเรียนการสอน และประสบการณ์บางอย่างอาจไม่เหมาะสมกับผู้เรียนบางคน ดังนั้นการเลือกสื่อการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยเช่นเดียวกันกับการเลือก
1.4 เลือกรูปแบบของสื่อ รูปแบบของสื่อเป็นการแสดงออกทางกายภาพของสื่อที่ปรากฏให้เห็น เช่น ภาพพลิก (ภาพนิ่ง และข้อความ) สไลด์ (ภาพนิ่งที่ฉายกับเครื่องฉาย)โสตวัสดุ (เสียง และดนตรี) ภาพยนตร์ (ภาพเคลื่อนไหวบนจอ) วิดีทัศน์ (ภาพเคลื่อนไหวบนจอโทรทัศน์) และคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย(กราฟิกข้อความและภาพเคลื่อนไหวบนจอ)ซึ่งสื่อแต่ละรูปแบบมีความแตกต่างกันและมีข้อจำกัดในการบันทึกและเสนอข้อมูลต่างกันครูควรเลือกรูปแบบของสื่อที่สามารถสนองต่อภารกิจที่ผู้เรียนต้องมีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสุดท้ายในการเรียนโดยพิจารณาด้วยว่าจะหาสื่อนั้นได้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและความแตกต่างของบุคคลด้วย การเลือกรูปแบบของสื่อยังต้องคำนึงถึงขนาดของกลุ่มผู้เรียนด้วย เช่นกลุ่มใหญ่/กลุ่มเล็ก หรือเรียนด้วยตนเองเป็นรายบุคคลเป็นต้น
1.5 เลือกสื่อการเรียนการสอนที่พอจะหาได้และอำนวยความสะดวกในการใช้การเลือกสื่อการเรียนการสอนมาใช้ในการเรียนการสอนจะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการนำสื่อนั้นมาใช้ด้วยและไม่จำเป็นต้องใช้สื่อที่มีราคาแพงเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะหาสื่อการเรียนการสอนชนิดใดได้บ้างที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย เพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด
2. การใช้สื่อการเรียนการสอน
สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนเป็นแต่เพียงเครื่องมือหรือตัวกลางที่ช่วยผ่อนแรงผ่อนระยะเวลาของครูและผู้เรียน ให้ได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก แต่การที่ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์จากการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใดนั้น ก็มิใช่อยู่ที่ลักษณะชนิดและคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนแต่เพียงอย่างเดียว ความจริงอยู่ที่ครูและผู้ใช้มีความสามารถในการเลือกและใช้เป็นส่วนใหญ่ด้วย ดังนั้นครูจะต้องมีการวางแผนการใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมายเนื้อหาวิชาจำนวนผู้เรียนลักษณะการตอบสนองที่คาดหวังจากผู้เรียน รวมทั้งการวัดผลและประเมินผลด้วยข้อแนะนำต่อไปนี้เป็นระบบการวางแผนการใช้สื่อเพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่เรียกว่า ASSURE model  ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
2.1  วิเคราะห์ผู้เรียน (Analyze learners)โดยพิจารณาเกี่ยวกับ
2.1.1 คุณลักษณะทั่วไป เช่น อายุ ระดับชั้นเรียน อาชีพ หรือตำแหน่งหน้าที่ตลอดจนวัฒนธรรม
2.1.2 ลักษณะเฉพาะที่นำสู่ความสามารถในการปรับตัวและความคิดสร้างสรรค์ซึ่งการทดสอบก่อนการเรียนจะช่วยให้ทราบถึงระดับความพร้อมหรือประสบการณ์เบื้องต้นที่ผู้นั้นมี และเนื้อหาและทักษะที่ต้องฝึกฝน
2.1.3 รูปแบบการเรียนรู้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับลักษณะจิตวิทยาการเรียนรู้โดยพิจารณาเกี่ยวกับความต้องการ ความสนใจความแตกต่างในการรับรู้
2.2  กำหนดจุดมุ่งหมายหรือ พฤติกรรมสุดท้ายที่หวังจะให้ผู้เรียนมี (State objectives)การกำหนดจุดมุ่งหมายควรกำหนดให้เฉพาะเจาะจงมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบว่าเมื่อเสร็จสิ้นการเรียนเขาจะต้องทำอะไรบ้าง จุดมุ่งหมายทางการเรียนการสอนทั่วไปแยกออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะพฤติกรรม 3ประเภท คือ
2.2.1 พุทธิพิสัย (Cognitive domain)หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง หลักเกณฑ์และความคิดรวบยอด
2.2.2 จิตพิสัย (Affective domain)หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับทัศนคติความเข้าใจ และค่านิยม
2.2.3 ทักษะพิสัย (Psychomotordomain) หมายถึง การเรียนจากการกระทำที่แสดงออกทางด้านร่างกายและเคลื่อนไหวทางด้านร่างกาย เช่น การเรียนว่ายน้ำ การเรียนขับรถการอ่านออกเสียง การใช้ท่าทางและการเล่นกีฬา  เป็นต้น
4. วิธีระบบ และการวิเคราะห์ระบบ
4.1   ความหมายของระบบ
                               ความหมายของระบบ   ระบบ คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้นๆ
                                เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทีใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
                                 วิธีการระบบที่ดี จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ว่าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่าข้อมูล วัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้ ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ
4.2   ลักษณะของระบบ
                 1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ
                  2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
                  3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
                 4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา อันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
                5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
                6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน
4.3  การวิเคราะห์ระบบ
                               การกระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้นข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลและมามาใช้แก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ หรือ การดูข้อมูลย้อนกับ (Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบจึงเป็นส่วนสำคัญของวิธีระบบ ( System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้ มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอนดังนี้ คือ
                             ขั้นที่ 1 ขั้นตั้งปัญหาหรือกำหนดปัญหา ในขั้นนี้ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรคือปัญหา  ที่ควรแก้ไข
                            ขั้นที่ 2 ขั้นกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ว่าจะให้ได้ผลในทางใด  มีปริมาณและคุณภาพเพียงใดซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้ควรคำนึงถึง ความสามารถในการปฏิบัติและออกมาในรูปการกระทำ
                              ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างเครื่องมืดวัดผล การสร้างเครื่องมือนี้จะสร้างหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้วและต้องสร้างก่อนการทดลองเพื่อจะได้ใช้เครื่องมือนี้ วัดผลได้ตรงตามเวลาและเป็นไปทุกระยะ
                                ขั้นที่ 4 ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ควรมองด้วยใจกว้างขวางและเป็นธรรม หลาย ๆแง่ หลาย ๆ มุม พิจารณาข้อดีข้อเสียตอลดจนข้อจำกัดต่าง ๆ
                                ขั้นที่ 5 เลือกเอาวิธีที่ดีที่สุดจากขั้นที่ 4 เพื่อนำไปทดลองในขั้นต่อไป
                                ขั้นที่ 6 ขั้นการทำอง เมื่อเลือกวิธีการใดแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามวิธีการนั้น การทดลองนี้ควรกระทำกับกลุ่มเล็กๆ ก่อนถ้าได้ผลดีจึงค่อยขยายการปฏิบัติงาน ให้กว้างขวางออกไป จะได้ไม่เสียแรงงาน เวลาและเงินทองมากเกินไป
                                 ขั้นที่ 7 ขั้นการวัดผลและประเมินผล เมื่อทำการทดลองแล้วก็นำเอาเครื่องมือวัดผลที่สร้างไว้ในขั้นที่ 3 มาวัดผลเพื่อนำผลไปประเมินดูว่า ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายเพียงใด  ยังมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข
                                  ขั้นที่ 8 ขั้นการปรับปรุงและขยายการปฏิบัติงาน จากการวัดผลและประเมินผลในขั้นที่ 7ก็จะทำให้เราทราบว่า การดำเนินงานตามวิธีการที่แล้วมานั้นได้ผลตามวัตถุประสงค์  หรือไม่ เพียงใด จะได้นำมาแก้ไข ปรับปรุงจนกว่าจะได้ผลดีจึงจะขยายการปฏิบัติ หรือยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น