ยินดีต้อนรับเข้าสู่ webblog นางสาว มณีรัตน์ วังมฤค สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ทั่วไป หมู่เรียนที่ 2

หน่วยที่ 4

หน่วยที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน

 ความหมายของจิตวิทยาการเรียนรู้
               จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology   มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา   ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ  แต่ในปัจจุบันี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษากี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์

             การเรียนรู้  (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์  พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้  ได้แก่ ฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ

จิตวิทยาการศึกษา
                คือ ศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียนในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียน เพื่อค้นคิดทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ จิตวิทยาการศึกษายังมีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาการสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล  ครูอาจารย์จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษาเพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอน  ดังนั้น ในเรียงความบทนี้ผมจึงอยากจะพูดถึงจิตวิทยาการศึกษาระดับพื้นฐานที่ได้เรียนมาในภาคการศึกษานี้ ในฐานะนิสิตคณะครุศาสตร์ที่จะต้องจบการศึกษาออกไปเป็นครู
จิตวิทยาการศึกษาจะช่วยให้ครูอาจารย์มีความเข้าใจตัวในตัวผู้เรียนอย่างแจ่มแจ้ง เข้าใจธรรมชาติของพวกเขา ความคิดจิตใจและความต้องการของพวกเขา เข้าใจว่าสิ่งใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมสำหรับพวกเขา เข้าใจว่าอะไรจะนำไปสู่ความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการศึกษาของพวกเขา  หรือสามารถกล่าวอย่างง่าย ๆ ว่า จิตวิทยาการศึกษาทำให้ครูอาจารย์มีจิตวิทยาในการสอน
หากครูผู้สอนมีจิตวิยาในการสอน เขาย่อมรู้ว่า การบังคับให้ผู้เรียนเรียนโดยไม่เข้าใจเหตุผลว่าทำไมต้องเรียนจะทำให้พวกเขาเข้าใจบทเรียนเพียงผิวเผิน แต่ความเข้าใจที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้เรียนเกิดความใฝ่รู้และพยายามเข้าใจด้วยตนเอง  จากตรงนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าครูอาจารย์จำเป็นต้องทำให้ผู้เรียนเข้าใจวัตถุประสงค์ของการเรียนวิชานั้น   และทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของความรู้และความสัมพันธ์ของความรู้นั้น ๆ ที่มีต่อการดำเนินชีวิต
               หากครูผู้สอนเข้าใจทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎีบุคลิกภาพของผู้เรียนในวัยต่าง ๆ ตั้งแต่วัยแรกเกิด วัยอนุบาล ประถมฯ มัธยมฯ จนถึงอุดมศึกษา  จะทำให้ครูผู้สอนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับบุคคลแต่ละวัย ตามพัฒนาการทางร่างกาย ความคิด จิตใจ อารมณ์ และสังคมของผู้เรียนได้  และด้วยความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในด้านนี้ จะทำให้ครูอาจารย์สามารถเล็งเห็นศักยภาพที่แฝงเร้นอยู่ภายในตัวผู้เรียน และช่วยผลักดันให้ผู้เรียนสามารถค้นพบศักยภาพของตัวเองได้  และสามารถให้คำแนะนำที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของเขาได้จริง  และถ้าหากครูอาจารย์สามารถล่วงรู้ถึงสิ่งที่เป็นเหมือนปุ่มสตาร์ทของผู้เรียนและสามารถทำให้ปุ่มสตาร์ทนี้ทำงานได้  มันจะเป็นแรงขับเคลื่อนผู้เรียนให้มุ่งไปในหนทางที่เขาใฝ่ฝันด้วยพลังจากภายในตัวของเขาเอง  ตลอดจนการประพฤติตนของครูเพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่นักเรียนซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งกว่าการสอนด้วยคำพูด 

 ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
-  ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
-  ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
-  ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
-  ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ

หลักการสำคัญ
1.  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.  มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.  มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.  มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน

ประโชยน์ของจิตวิทยา
   ๑เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 
  มีความรู้เกี่ยวกับการเล่นของเด็กและการกีฬา 
   จิตวิทยาช่วยให้การดำเนินชีวิตในสังคมเป็นไปโดยสะดวกและราบรื่น 
   การรักษาพยาบาลต้องอาศัยจิตวิทยา 
   จิตวิทยาช่วยเกี่ยวกับกฏหมายในเรื่องการสืบพยาน  
    .  จิตวิทยาเป็นหัวใจของการโฆษณาประชาสัมพันธ์  

แนวคิด
                ๑.  จิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์  มีบทบาทต่อการจัดการเรียนการสอน
                .  การจูงใจส่งผลให้เกิดความพร้อมในการเรียนมากขึ้น
                .  บุคคลจะปรับตัวเมื่อเกิดความไม่สบายใจ วิตกกังวล คับข้องใจ หรือเครียด แต่ละคนมี
กลวิธานในการปรับตัวต่างๆ กันไป
                .  พฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ทางจิตใจได้
                .  บุคคลจะมีความรู้สึกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่างๆ กันไป   การที่ครูสามารถสร้างและพัฒนาทัศนคติที่ดีต่อการเรียนของนักเรียนจะส่งผลดีต่อการเรียนการสอน

                จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology   มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา   ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ  แต่ในปัจจุบันี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษากี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
               การเรียนรู้  (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์  พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้  ได้แก่ ฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
              
วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ แบ่งออกได้ ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ
๑. ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)
๒. ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่องทฤษฎีนี้เห็นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response) ปัจจุบันเรียกนักทฤษฎีกลุ่มนี้ว่า "พฤติกรรมนิยม" (Behaviorism) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ ดังนี้
๑. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theories)
๑.๑ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning Theories)
๑.๒ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
๒. ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theories)
๒.๑ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory)
๒.๒ ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่อง (S-R Contiguity Theory)
          Ivan P. Pavlovนักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย ทำการทดลองเพื่อศึกษาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงระหว่างการตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามธรรมชาติที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus = UCS) และสิ่งเร้า ที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) จนเกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าที่เป็นกลางให้กลายเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus = CS) และการตอบสนองที่ไม่มีเงื่อนไข (Unconditioned Response = UCR) เป็นการตอบสนองที่มีเงื่อนไข (Conditioned Response = CR)ลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นดังนี้
๑. ก่อนการวางเงื่อนไขUCS (อาหาร) UCR (น้ำลายไหล)สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (เสียงกระดิ่ง) น้ำลายไม่ไหล
๒. ขณะวางเงื่อนไขCS (เสียงกระดิ่ง) + UCS (อาหาร) UCR (น้ำลายไหล
๓. หลังการวางเงื่อนไขCS (เสียงกระดิ่ง) CR (น้ำลายไหล)John B. Watsonนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ทำการทดลองการวางเงื่อนไขทางอารมณ์กับเด็กชายอายุประมาณ ๑๑ เดือน โดยใช้หลักการเดียวกับ Pavlovหลังการทดลองเขาสรุปหลักเกณฑ์การเรียนรู้ได้ ดังนี้
๑. การแผ่ขยายพฤติกรรม (Generalization) มีการแผ่ขยายการตอบสนองที่วางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้า ที่คล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
๒. การลดภาวะ หรือการดับสูญการตอบสนอง (Extinction) ทำได้ยากต้องให้สิ่งเร้าใหม่ (UCS ) ที่มีผลตรงข้ามกับสิ่งเร้าเดิม จึงจะได้ผลซึ่งเรียกว่า Counter - Conditioningลำดับขั้นของการเรียนรู้ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ
3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
(1) ประสบการณ์
(2) ความเข้าใจ
(3) ความนึกคิด

          จิตวิทยาการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม( Cognitivism)กลุ่มพุทธินิยม หรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ทฤษฎีในกลุ่มนี้ทีสำคัญ ๆ มี 5 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีเกสตอลท์(Gestalt’s Theory)
2. ทฤษฎีสนาม (Field Theory)
3. ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)
4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory)
5. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning)

ทฤษฎีทางจิตวิทยาได้เอามาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาคือ
1. การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theory)ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของกาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้8 ขั้น ดังนี้- สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน- แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน- กระตุ้นให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่ เสนอบทเรียนใหม่ๆ ด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม- ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ- กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ- ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ- การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์- ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน
2. การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจะใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มาใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีของ เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม มาใช้โดยการให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ได้เรียนรู้ในกลุ่ม เป็นการเรียนแบบร่วมมือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถสรุปใจความสำคัญของทฤษฎีสนามในการจัดกิจกรรมกลุ่มได้ดังนี้
1. พฤติกรรมเป็นผลจากพลังความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม
2. โครงสร้างกลุ่มเกิดจากการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน
3. การรวมกลุ่มแต่ละครั้งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเช่น ในรูปการกระทำ (act)ความรู้สึกและความคิด
4. องค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว จะก่อให้เกิดโครงสร้างของกลุ่ม แต่ละครั้งที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม5. สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและพยายามช่วยกันทำงานจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลาง

                สรุปได้ว่า บรูนเนอร์ กล่าวว่า คนทุกคนมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ หรือ การรู้คิดโดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Acting, Imagine และ Symbolizing ซึ่งอยู่ในขั้นพัฒนาการทางปัญญาคือ Enactive, Iconic  และ Symbolic representation ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตมิใช่เกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเท่านั้น บรูเนอร์เห็นด้วยกับ  พีอาเจต์ ที่ว่า มนุษย์เรามีโครงสร้างทางสติปัญญา (Cognitive structure) มาตั้งแต่เกิดในวัยเด็กจะมีโครงสร้างทางสติปัญญาที่ไม่ซับซ้อน เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้โครงสร้างทางสติปัญญาขยาย และซับซ้อนเพิ่มขึ้น หน้าที่ของครูคือ การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่ช่วยเอื้อต่อการขยายโครงสร้างทางสติปัญญาของผู้เรียน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น