ยินดีต้อนรับเข้าสู่ webblog นางสาว มณีรัตน์ วังมฤค สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ทั่วไป หมู่เรียนที่ 2

หน่วยที่ 6

หน่วยที่ 6 นวัตกรรมการเรียนการสอน

หน่วยที่ 6 นวัตกรรมการเรียนการสอน Web base instruction(WBI)
             ในปัจจุบันเทคโนโลยีนับว่ามีบทบาทต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่าย NETWORKที่เชื่อมโยงเครือข่ายมากมายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน มนุษย์พยายามที่จะใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ได้ประโยชน์สูงสุด จึงได้ทำการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถสื่อสาร แลกเปลี่ยน และใช้งานข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกันได้ โดยผ่านทางสายส่งสัญญาณในระบบ จึงเกิดเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ จุด จนในปัจจุบันกลายเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมองค์กรทั่วโลกที่รู้จักกันในนาม อินเทอร์เน็ต (Internet)
                เว็บ(Web) หรือ เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW : World Wide Web) เป็นบริการหนึ่งของอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นหลังบริการอื่น ๆ  บนอินเทอร์เน็ต นอกจากจะส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การสนทนาผ่านเครือข่ายการอภิปรายผ่านกระดานข่าว การอ่านข่าว การค้นข้อมูล     และการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล
                เว็บ(Web) หมายถึง ข่าวสารข้อมูลในรูปเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ หมายถึง การเชื่อมโยงเอกสารไปยังเอกสารอื่น ๆ ที่อยู่ต่างกัน และไฮเปอร์มีเดีย หมายถึง การรวมไฮเปอร์เท็กซ์และสื่อหลากหลายที่ได้จากการเชื่อมโยงนั้น ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการติดต่อส่งข้อมูลเอกสาร 
                กิดานันท์  มลิทอง(2543) ให้ความหมายว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการใช้เว็บในการเรียนการสอนโดยอาจใช้เว็บเพื่อนำเสนอบทเรียนในลักษณะสื่อหลายมิติของวิชาทั้งหมดตามหลักสูตร หรือใช้เพียงการเสนอข้อมูลบางอย่างเพื่อประกอบการสอนก็ได้  รวมทั้งใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะต่าง ๆ ของการสื่อสารที่มีอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การเขียนโต้ตอบกันทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และการพูดคุยสดด้วยข้อความและเสียงมาใช้ประกอบด้วย  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
                คาน (Khan,1997)  ได้ให้คำจำกัดความของการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) ว่าเป็นการเรียนการสอนที่อาศัยโปรแกรมไฮเปอร์มีเดียที่ช่วยในการสอนโดยการใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะและทรัพยากรอินเทอร์เน็ต(WWW) มาสร้างให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีมากมายตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ในทุกทาง
                คลาร์ก (Clark,1996) ได้ให้คำจำกัดความของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่าเป็นการเรียนการสอนรายบุคคลที่นำเสนอโดยการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะหรือส่วนบุคคลและแสดงผลในรูปของการใช้เว็บบราวเซอร์ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ติดตั้งไว้ได้โดยผ่านเครือข่าย
                สุภาณี  เส็งศรี (2543) ได้ให้ความหมาย WBI  (Web-based Instruction)  คือ บทเรียนที่สร้างขึ้นสำหรับการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยนำจุดเด่นของวิธีการให้บริการข้อมูลแบบ www มาประยุกต์ใช้ Web Base Instruction จึงเป็นบทเรียนประเภท CAI แบบ On-line คำว่า On-line ในที่นี้หมายความว่า ผู้เรียนเรียนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อผ่านเครือข่ายกับเครื่องแม่ข่ายที่บรรจุบทเรียนจากนิยามและความคิดเห็นของนักวิชาการและนักการศึกษา ทั้งในต่างประเทศและภายใน ประเทศไทยดังที่
                 สรุปได้ว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการจัดสภาพการเรียนการสอนที่ได้รับการออกแบบอย่างมีระบบ โดยอาศัยคุณสมบัติและทรัพยากรของเวิลด์ไวด์เว็บ มาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพโดยอาจจัด เป็นการเรียนการสอนทั้งกระบวนการหรือนำมาใช้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการทั้งหมดและช่วยขจัดปัญหาอุปสรรคของการเรียนการสอนทางด้านสถานที่และเวลาอีกด้วย
แนวทางการใช้ WBI ในการเสริมสร้างการเรียนการสอน
                   การใช้ WBI ในการเสริมการเรียนการสอน สามารถแบ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างกันได้    3  ลักษณะ  คือ
                          1.  ใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการให้ข้อมูลข่าวสาร (Information Tools)  คือ การใช้ WBI เป็นสื่อในการให้ข้อมูล ข่าวสาร  กำหนดการต่าง ๆ เกี่ยวกับรายวิชา  เช่นสังเขปรายวิชา  เอกสารประกอบการสอน  สไลด์จากการสอน  แหล่งเอกสารอ้างอิง  ประกาศคะแนนการทดสอบ  เป็นต้น
                          2.  ใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร (Communication  Tools) คือการใช้  WBI เป็นสื่อในการสื่อสารระหว่างอาจารย์กับนิสิตนักศึกษา หรือระหว่างนิสิตนักศึกษาด้วยกันเองซึ่งรองรับทั้งการสื่อสารในเวลาเดียวกัน(Synchromous communication)  เช่น  กระดานถามตอบ (Web board)  จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)   ทั้งรูปแบบการสื่อสารระหว่างบุคคลต่อบุคคล  (one to one)  บุคคลต่อกลุ่ม (one to many)  และระหว่างกลุ่ม (many to many)
                         3. ใช้เพื่อเป็นสื่อในการทบทวนความรู้บทเรียน (Tutoring Tools)  คือ การพัฒนา  WBI ให้มีลักษณะเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบทบทวนความรู้  หรือ  แบบฝึกหัด (Drill and  Practice)

ส่วนประกอบที่สำคัญของ WBI
                   -  Registration  ระบบควบคุมการเข้าใช้และการลงทะเบียนผู้เรียน  กลุ่มของเว็บเพจที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่ระบบการลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบ  สำหรับนิสิตที่ยังไม่เคยลงทะเบียนหรือใช้สำหรับการขอเข้าสู่ระบบ (Login)  สำหรับนิสิตที่ลงทะเบียนไว้แล้ว เพื่อควบคุมการเข้าใช้ระบบให้เฉพาะนิสิตที่ได้ลงทะเบียนไว้  ป้องกันการรบกวนระบบจากผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นการยืนยันตัวนิสิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ถ้าระบบ WBI    มีการเก็บประวัติการเข้าใช้ระบบ  ประวัติ   การเรียนดูบทเรียนหรือประวัติและคะแนนในการทำแบบทดสอบความรู้มีทางเลือกในการเชื่อมโยง ไปยังเว็บเพจกลุ่มของ
                      -  About  the course  เพื่อให้นิสิตสามารถเลือกเชื่อมโยงไปยังกลุ่มของเว็บ About  the course  เพื่อศึกษารายละเอียดของวิชาก่อนตัดสินใจลงทะเบียน
                -  About   the  course  คำอธิบายถึงลักษณะรายวิชา  เนื้อหา  และวัตถุประสงค์ของบทเรียนกลุ่มของเว็บเพจที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชาเพื่อเป็นข้อมูลในการเรียน เช่น  ประมวลรายวิชา (Couse Description),  วัตถุประสงค์รายวิชา (Course Objectives), ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการเรียน (Term and Conditions),  อุปกรณ์และเครื่องมือจำเป็นในการเรียน (Technical requirement) (ให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลทางเทคนิค เช่น  ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ที่จำเป็นต้องใช้ในการเรียนรายวิชา)ประวัติคณาจารย์และทีมงาน (Biography of the staff) หน่วยงานสนับสนุนทุนในการสร้าง และพัฒนา WBI (Sponsoring Organization) เป็นต้น
                - Running the course กลุ่มของเว็บเพจที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชา เช่น  เว็บหน้าหลักที่มีข้อความต้อนรับและให้คำแนะนำในการเรียน (Welcomes & Introduction)  เว็บรายชื่อนิสิตผู้เรียนประวัติหรือข้อมูลนิสิต  อาจจะมีการแยกหน้าเป็นหน้า Home page ของนิสิตเป็นรายบุคคลก็ได้หน้าเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน (Course home page จะขยายความต่อไปในหัวข้อ
                   - Learning Materials กลุ่มเว็บเพจที่เกี่ยวข้องกับเอกสารประกอบการสอนการบ้าน และงานที่มอบหมายเอกสารหรือหนังสืออ่านประกอบ เป็นต้น  อาจจะมีเครื่องมือเสริมในการสืบค้นเอกสารเพิ่มเติมทั้งในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและในกลุ่มเว็บเนื้อหาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน
                -   Feedback   กลุ่มเว็บเพจที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจความคิดเห็นทั้งก่อนเรียน  ระหว่างเรียนและหลังการเรียน รวมทั้งแบบฟอร์มที่นิสิตจะให้คำแนะนำการเรียนการสอน
                -  Course  completion  กลุ่มเว็บเพจที่ใช้ในการแสดงความยินดี ให้การชื่นชมหลังจากนิสิตจบการเรียนการสอนของรายวิชา
                -  Access mechanisms  กลไกในการเข้าถึงเว็บเพจในแต่ละส่วน  ควรจะมีหลายรูปแบบ เช่นเป็นเมนู (Menu) เป็นแผนที่เว็บเพจ (Map) และเรียงลำดับ รวมทั้งระบบค้นหาเว็บเพจที่มีเนื้อหาที่ต้องการ
                -   Counter   ตัวนับความถี่ในการเปิดเว็บ

      ประเภทของ WBI
                การเรียนการสอนผ่านเว็บสามารถทำได้ในหลายลักษณะ โดยแต่ละเนื้อหาของหลักสูตรก็จะมีวิธีการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในประเด็นนี้มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเภทของการเรียนการสอนผ่านเว็บ ดังต่อไปนี้พาร์สัน ได้แบ่งประเภทของ WBI ไว้ 3 ลักษณะ คือ
1.WBI แบบรายวิชาอย่างเดียว (Stand - Alone Courses) เป็นเว็บรายวิชาที่มีเครื่องมือและแหล่งเข้าไปถึงและเข้าหาได้โดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ตอย่างมากที่สุด ถ้าไม่มีการสื่อสารก็สามารถที่จะผ่านระบบคอมพิวเตอร์สื่อสารได้ ลักษณะของเว็บช่วยสอนแบบนี้มีลักษณะเป็นแบบวิทยาเขตมีนักศึกษาจำนวนมากที่เข้ามาใช้จริง เป็นเว็บที่มีการบรรจุ เนื้อหา(Content) หรือเอกสารในรายวิชาเพื่อการสอนเพียงอย่างเดียว มีลักษณะการสื่อสารส่งข้อมูลระยะไกลและมักจะเป็นการสื่อสารทางเดียว
2.WBI แบบสนับสนุนรายวิชา (Web Supported Courses) เป็นเว็บรายวิชาที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมที่มีการพบปะระหว่างครูกับนักเรียน การสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หรือ การมีเว็บที่สามารถชี้ตำแหน่งของแหล่งบนพื้นที่ของเว็บไซต์ที่ร่วมกิจกรรมเอาไว้ เป็นการสื่อสารสองทางที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน และมีแหล่งทรัพยากร ทางการศึกษาให้มาก มีการกำหนดงานให้ทำบนเว็บ การกำหนดให้อ่านมีการร่วมกันอภิปราย การตอบคำถามมีการสื่อสารอื่น ๆ ผ่านคอมพิวเตอร์มีกิจกรรมต่าง  ๆ ที่ให้ทำในรายวิชา มีการเชื่อมโยงไปยังแหล่งทรัพยากรอื่น ๆ เป็นต้น
3. WBI แบบศูนย์การศึกษา หรือ เว็บทรัพยากรการศึกษา (Web Pedagogical Resources) เป็นเว็บที่มีรายละเอียดทางการศึกษา การเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่น ๆ เครื่องมือ วัตถุดิบ และรวมรายวิชาต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสถาบันการศึกษาไว้ด้วยกัน  และยังรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาไว้บริการทั้งหมดและเป็นแหล่งสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ทางการศึกษา ทั้งทางด้านวิชาการและไม่ใช่วิชาการโดยการใช้สื่อที่หลากหลายรวมถึงการสื่อสารระหว่างบุคคลด้วย
นอกจากนี้ แฮนนัม (Hannum, 1998) ได้แบ่งประเภทของการเรียนการสอนผ่านเว็บ ออกเป็น 4 ลักษณะ ใหญ่ๆ คือ
1. รูปแบบการเผยแพร่ รูปแบบนี้สามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ชนิด คือ
1.1 รูปแบบห้องสมุด (Library Model) เป็นรูปแบบที่ใช้ประโยชน์จากความสามารถในการเข้าไปยังแหล่งทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่หลากหลาย โดยวิธีการจัดหาเนื้อหาให้ผู้เรียนผ่านการเชื่อมโยงไปยังแหล่งเสริมต่างๆ เช่นสารานุกรม วารสาร หรือหนังสือออนไลน์ทั้งหลาย ซึ่งถือได้ว่า เป็นการนำเอาลักษณะทางกายภาพของห้องสมุดที่มีทรัพยากรจำนวนมหาศาลมาประยุกต์ใช้ ส่วน ประกอบของรูปแบบนี้ ได้แก่ สารานุกรมออนไลน์ วารสารออนไลน์ หนังสือออนไลน์ สารบัญการอ่าน ออนไลน์ (Online Reading List) เว็บห้องสมุด เว็บงานวิจัย รวมทั้งการรวบรวมรายชื่อเว็บที่สัมพันธ์กับวิชาต่างๆ
1.2 รูปแบบหนังสือเรียน (Textbook Model) การเรียนการสอนผ่านเว็บรูปแบบนี้ เป็นการจัดเนื้อหาของหลักสูตรในลักษณะออนไลน์ให้แก่ผู้เรียน เช่น คำบรรยาย สไลด์ นิยาม คำศัพท์และส่วนเสริมผู้สอนสามารถเตรียมเนื้อหาออนไลน์ที่ใช้เหมือนกับที่ใช้ในการเรียนในชั้นเรียนปกติและสามารถทำสำเนาเอกสารให้กับผู้เรียนได้ รูปแบบนี้ต่างจากรูปแบบห้องสมุดคือรูปแบบนี้จะเตรียมเนื้อหาสำหรับการเรียนการสอนโดยเฉพาะ ขณะที่รูปแบบห้องสมุดช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการจากการเชื่อมโยงที่ได้เตรียมเอาไว้ส่วนประกอบของรูปแบบหนังสือเรียนนี้ประกอบด้วยบันทึกของหลักสูตร บันทึกคำบรรยาย ข้อแนะนำของห้องเรียน สไลด์ที่นำเสนอวิดีโอและภาพ 
ที่ใช้ในชั้นเรียน เอกสารอื่นที่มีความสัมพันธ์กับชั้นเรียน เช่น ประมวลรายวิชา รายชื่อในชั้น กฏเกณฑ์ข้อตกลงต่าง  ตารางการสอบและตัวอย่างการสอบครั้งที่แล้ว ความคาดหวังของชั้นเรียน งานที่มอบหมาย เป็นต้น
1.3 รูปแบบการสอนที่มีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Instruction Model) รูปแบบนี้จัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้จากการมีปฎิสัมพันธ์กับเนื้อหาที่ได้รับ โดยนำลักษณะของบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มาประยุกต์ใช้เป็นการสอนแบบออนไลน์ที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ มีการให้ คำแนะนำ การปฏิบัติ การให้ผลย้อนกลับ รวมทั้งการให้สถานการณ์จำลอง
2.รูปแบบการสื่อสาร (Communication Model)
การเรียนการสอนผ่านเว็บรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่อาศัยคอมพิวเตอร์มาเป็นสื่อเพื่อการสื่อสาร (Computer – Mediated Communications Model) ผู้เรียนสามารถที่จะสื่อสารกับผู้เรียนคนอื่นๆ ผู้สอนหรือกับผู้เชี่ยวชาญได้ โดยรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายในอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้แก่ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอภิปรายการสนทนาและการอภิปรายและการประชุมผ่านคอมพิวเตอร์ เหมาะ สำหรับการเรียนการสอนที่ต้องการส่งเสริมการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
3. รูปแบบผสม (Hybrid Model) 
                รูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บรูปแบบนี้เป็นการนำเอารูปแบบ 2 ชนิด คือ รูปแบบการเผยแพร่กับรูปแบบการสื่อสารมารวมเข้าไว้ด้วยกัน เช่น เว็บไซต์ที่รวมเอารูปแบบห้องสมุดกับรูปแบบหนังสือเรียนไว้ด้วยกัน เว็บไซต์ที่รวบรวมเอาบันทึกของหลักสูตรรวมทั้งคำบรรยายไว้กับกลุ่มอภิปรายหรือเว็บไซต์ที่รวมเอารายการแหล่งเสริมความรู้ต่างๆ และความสามารถของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไว้ด้วยกัน เป็นต้นรูปแบบนี้มีประโยชน์เป็นอย่างมากกับผู้เรียนเพราะผู้เรียน
จะได้ใช้ประโยชน์ของทรัพยากรที่มีในอินเทอร์เน็ตในลักษณะที่หลากหลาย
4. รูปแบบห้องเรียนเสมือน (Virtual classroom model) 
                รูปแบบห้องเรียนเสมือนเป็นการนำเอาลักษณะเด่นหลายๆ ประการของแต่ละรูปแบบที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมาใช้ ฮิลทซ์(Hiltz, 1993) ได้นิยามว่าห้องเรียนเสมือนเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนที่นำแหล่งทรัพยากรออนไลน์มาใช้ในลักษณะการเรียนการสอนแบบร่วมมือ โดยการร่วมมือระหว่างนักเรียนด้วยกัน นักเรียนกับผู้สอน ชั้นเรียนกับสถาบันการศึกษาอื่น และกับชุมชนที่ไม่เป็นเชิงวิชาการ (Khan, 1997) ส่วนเทอรอฟฟ์ (Turoff, 1995)กล่าวถึงห้องเรียนเสมือนว่า เป็นสภาพแวดล้อมการเรียน การสอนที่ตั้งขึ้นภายใต้ระบบการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ในลักษณะของการเรียนแบบร่วมมือ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เน้นความสำคัญของกลุ่มที่จะร่วมมือทำกิจกรรมร่วมกัน นักเรียนและผู้สอนจะได้รับความรู้ใหม่ๆ จากกิจกรรมการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูล ลักษณะเด่นของการเรียนการสอนรูปแบบนี้ก็คือความสามารถในการลอกเลียนลักษณะของห้องเรียนปกติมาใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยความสามารถต่างๆ ของอินเทอร์เน็ต โดยมีส่วนประกอบคือ ประมวลรายวิชา เนื้อหาในหลักสูตร รายชื่อแหล่งเนื้อหาเสริม กิจกรรมระหว่าง ผู้เรียนผู้สอน คำแนะนำและการให้ผลป้อนกลับ การนำเสนอในลักษณะมัลติมีเดีย การเรียนแบบร่วมมือ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน รูปแบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียน โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาและสถานที่

·            ลักษณะของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (WBI)

            การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีลักษณะการจัดการเรียน ที่ผู้เรียนจะเรียนผ่านจอคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสามารถเข้าสู่ระบบเครือข่ายเพื่อการศึกษาเนื้อหาบทเรียนจากที่ใดก็ได้ และผู้เรียนแต่ละคนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้สอนหรือผู้เรียนคนอื่นๆได้ทันทีทันใด เหมือนการเผชิญหน้ากันจริงๆหรือเป็นการส่งข้อความฝากไว้กับบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ในการติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนด้วยกันเองหรือกับผู้สอน
            การเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือการเรียนรู้บนเว็บ กระทำได้หลายลักษณะ เช่นการทำโครงการร่วมกัน การแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกันในกระดานข่าว การแสดงความคิดเห็นในกระทู้ทางวิชาการการทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นกลุ่ม การทำโครงงานร่วมกัน เป็นการร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานในเรื่องที่สนใจร่วมกัน นอกจากนี้ วิธีการเรียนรู้บนเว็บมีประสิทธิผล คือ การเรียนรู้ร่วมกันบนเว็บ ซึ่งเป็นวิธีที่ผู้เรียนทำงานด้วยกันเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มเล็ก เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของงานร่วมกัน ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบการเรียนรู้ของผู้อื่นเท่ากับของตนเอง

ลักษณะของกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (WBI)

            การเรียนการสอนผ่านเว็บจะต้องอาศัยบทบาทของระบบอินเทอร์เน็ตเป็นสำคัญ การใช้อินเทอร์เน็ตในลักษณะของโปรแกรมการเรียนการสอนผ่านเว็บจะมีวิธีการใช้ใน 3 ลักษณะ (Doherty,1988)
1.      การนำเสนอ (Presentation) เป็นไปในแบบเว็บไซด์ที่ประกอบไปด้วยข้อความภาพกราฟฟิก ซึ่งสามารถนำเสนอได้อย่างเหมาะสมในลักษณะของสื่อ คือ
1.1  การนำเสนอแบบสื่อทางเดียว เช่น เป็นข้อความ
1.2  การนำเสนอแบบสื่อคู่ เช่น ข้อความภาพกราฟฟิก บางครั้งจะอยู่ในรูปแบบ PDF ผู้เรียนสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้(Jeanne,1996)
1.3  การนำเสนอแบบมัลติมีเดีย คือ ประกอบด้วยข้อความ ภาพกราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียงและภาพยนตร์ หรือวีดีโอ(แต่ความเร็วจะไม่เร็วเท่ากับวีดีโอเทป)
2.      การสื่อสาร (Communication) การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ทุกวันในชีวิตซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของอินเทอร์เน็ต โดยมีการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตหลายแบบ เช่น
2.1  การสื่อสารทางเดียว โดยดูจากเว็บเพจ
2.2  การสื่อสารสองทาง เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โต้ตอบกัน
3.      การก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ (Dynamic Interaction) เป็นคุณลักษณะสำคัญของอินเทอร์เน็ตประกอบด้วย 3ลักษณะ คือ
3.1  การสืบค้น
3.2  การหาวิธีการเข้าสู่เว็บ
3.3  การตอบสนองของมนุษย์ในการใช้เว็บ
องค์ประกอบของการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
            1.  องค์ประกอบด้านการเรียนการสอน
                        - การพัฒนาเนื้อหา                           - ทฤษฎีการเรียนรู้
                        - การออกแบบระบบการสอน            - การพัฒนาหลักสูตร
                        - มัลติมีเดีย                                           - ข้อความและกราฟิก
                        - ภาพเคลื่อนไหว                             - การออกแบบการปฏิสัมพันธ์
                        - เครื่องมือในอินเทอร์เน็ต               - เครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
คุณสมบัติของสื่อ WBI
       สื่อการสอนในแบบของ WBI จะมีคุณสมบัติ ดังตอไปนี้
       1) สารสนเทศ(Information)
มีการจัดเรียบเรียง กำหนดรูปแบบการนำเสนอเนื้อหา(Content) เป็นอย่างดีเนื่องจากสื่อการสอนจะ
เป็นการจัดการสอนที่ไม่มีผู้สอน เนื้อหาในสื่อจะต้องมีความชัดเจน และเข้าใจได้ง่าย
       2) ความแตกต่างระหว่างบุคคล(Individualization)
คือการตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื่องจากผู้เรียนจะมีบุคลิกภาพ สติปัญญา ความสนใจ รวมถึงพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นตัวสื่อจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้อิสระในควบคุมการเรียนรู้ผู้เรียน และเลือกรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมได้เอง
       3)การโต้ตอบ(Interaction)
การโต้ตอบหรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวโปรแกรมและผู้เรียนจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ อีกทั้งเกิดกิจกรรมการเรียนที่สร้างเสริมความคิด ของตนเองอีกด้วย
       4) ผลป้อนกลับโดยทันที(Immediate Feedback)
สื่อจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีผลลัพธ์ การเรียนซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของการประเมินผลเรียน โดยอาจจะจัดให้อยู่ในรูปแบบของแบบทดสอบ แบบฝึกหัด หรือ การตรวจสอบความเข้าใจในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่สอดคล้องกับเนื้อหา 
·        การออกแบบบทเรียน WBI
1.  การออกแบบโครงสร้างของบทเรียน WBI
ปทีป  เมธาคุณวุฒิ(2540) กล่าวว่าการออกแบบโครงสร้างของบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ควรประกอบด้วย
1.  ข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชาภาพรวมรายวิชา (Course  Overview)
2.  การเตรียมตัวของผู้เรียนหรือการปรับพื้นฐานผู้เรียน
3.  เนื้อหาบทเรียน
4.  กิจกรรมที่มอบหมายให้ทำพร้อมทั้งการประเมินผล การกำหนดเวลาเรียน  การส่งงาน
5.  แบบฝึกหัดที่ผู้เรียนต้องการฝึกฝนตนเอง
6.  การเชื่อมโยงไปแหล่งทรัพยากรที่สนับสนุนการศึกษาค้นคว้า
7.  ตัวอย่างแบบทดสอบหรือรายงาน
8.  ข้อมูลทั่วไป (Vital  Information)
9.  ส่วนแสดงประวัติของผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
10.  ส่วนของการประกาศข่าว (Bulletin  Board)
11.  ห้องสนทนา (Chat  Room)
2.  การออกแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียน WBI
                การจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียน WBI   ผู้สอนและผู้เรียนจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ที่ให้บริการเครือข่าย (File  Server)  และเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเว็บ (Web  Server) เป็นการเชื่อมโดยระยะใกล้หรือระยะไกลผ่านทางระบบสื่อสารและอินเทอร์เน็ต  การจัดการเรียนการสอนที่เป็นเว็บผู้สอนจะต้องมีหลักการและขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน
2.1 หลักการออกแบบบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ฮอฟแมน(Hoffman.1997)  อาศัยหลักกระบวนการเรียนการสอน 7 ขั้น ดังนี้
1.  การสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน (Motivating  the  Learner)
2.  บอกวัตถุประสงค์ของการเรียน (Identifying  what  is  to  be  Learned)
3.  ทบทวนความรู้เดิม ( Reminding  Learners  of  Pask  Knowledge)
4.  ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ (Requiring  Active  Involvement)
5.  ให้คำแนะนำและให้ข้อมูลย้อนกลับ (Providing  Guidance  and  Feedback)
6.  ทดสอบความรู้ (Testing)
7.  การนำความรู้ไปใช้ (Providing  Enrichment and  Remediation)
2.2  กระบวนการและขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน
ปทีป  เมธาคุณวุฒิ( 2540)  กล่าวว่าขั้นตอนในการจัดการเรียนการสอนมี 7 ขั้น ดังนี้
1.  กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
2.  การวิเคราะห์ผู้เรียน
2.1  การออกแบบเนื้อหารายวิชา
2.2  เนื้อหาตามหลักสูตรและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
2.3    จัดลำดับเนื้อหาจำแนกหัวข้อตามหลักการเรียนรู้และลักษณะเฉพาะในแต่ละหัวข้อ
2.4  กำหนดระยะเวลาและตารางการศึกษาในแต่ละหัวข้อ
2.5  กำหนดวิธีการศึกษา
2.6  กำหนดสื่อที่ใช้ประกอบการศึกษาในแต่ละหัวข้อ
2.7  กำหนดวิธีการประเมินผล
2.8  กำหนดความรู้และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียน
2.9  สร้างประมวลรายวิชา
3.  การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต  โดยใช้คุณสมบัติของอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนนั้น
4.  การเตรียมความพร้อมสิ่งแวดล้อม
5.  การปฐมนิเทศผู้เรียน  ได้แก่ แจ้งวัตถุประสงค์  เนื้อหา  และวิธีการเรียนการสอน สำรวจความพร้อมของผู้เรียนและเตรียมความพร้อมของผู้เรียน
6.  จัดการเรียนการสอนตามแบบที่กำหนดไว้  โดยในเว็บเพจ
7.  การประเมินผล    ผู้สอนสามารถใช้การประเมินผลระหว่างเรียนและการประเมินผลเมื่อสิ้นสุดการเรียนรวมทั้งการที่ผู้เรียนประเมินผลผู้สอนและการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนทั้งรายวิชา เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข ระบบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ต
การประเมินผลการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  มีผู้กล่าวถึงการประเมินผลการเรียนการสอนทั้งประเมินผู้เรียนและประเมินเว็บไซต์ ดังนี้                           
การประเมินผู้เรียน
การประเมินผลการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นการประเมินระหว่างเรียน (Formative  Evaluation ) กับการประเมินรวมหลังเรียน (Summative  Evaluation )โดยการประเมินระหว่างเรียนสามารถทำได้ตลอดเวลาระหว่างมีการเรียนการสอน เพื่อดูผลสะท้อนของผู้เรียนและดูผลที่คาดหวังไว้  อันจะนำไปปรับปรุงการสอนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การประเมินหลังเรียนมักจะใช้การตัดสินในตอนท้ายของการเรียน โดยการใช้แบบทดสอบเพื่อวัดผลตามจุดประสงค์ของรายวิชา   ( ปรัชญนันท์  นิลสุข.2546 )
พอตเตอร์ ( Potter , 1998 ) ได้เสนอวิธีการประเมินการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ประเมินสำหรับการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ของมหาวิทยาลัยจอร์จ  เมสัน โดยแบ่งการประเมินออกเป็น  4   แบบ คือ
1.  การประเมินด้วยเกรดในรายวิชา (Course  Grades )  เป็นการประเมินที่ผู้สอนให้คะแนนกับผู้เรียน วิธีการนี้กำหนดองค์ประกอบของวิชาชัดเจน เช่น คะแนนเต็ม  100% แบ่งเป็นการสอบ     30%  จากการมีส่วนร่วม 10%  จากโครงงานกลุ่ม 30% และงานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละสัปดาห์อีก  30% เป็นต้น
 2.  การประเมินรายคู่  (Peer  Evaluation ) เป็นการประเมินกันเองระหว่างคู่ของผู้เรียนที่เลือกจับคู่กันในการเรียนทางไกลด้วยกันไม่เคยพบกันหรือทำงานด้วยกัน  โดยให้ทำโครงงานร่วมกันให้ติดต่อกันผ่านเว็บและสร้างโครงงานเป็นเว็บที่เป็นแฟ้มสะสมงาน  แสดงเว็บให้ผู้เรียนคนอื่นเห็น และจะประเมินผลรายคู่จากโครงงาน
3.  การประเมินต่อเนื่อง (Continuous  Evaluation )  เป็นการประเมินที่ผู้เรียนต้องส่งงานทุกๆสัปดาห์ให้กับผู้สอน โดยผู้สอนจะให้ข้อเสนอแนะและตอบกลับในทันที  ถ้ามีสิ่งที่ผิดพลาดกับผู้เรียนก็จะแก้ไขและประเมินตลอดเวลาในช่วงเวลาของวิชา
  4.  การประเมินรายภาคเรียน ( Final  Course  Evaluation )  เป็นการประเมินผลปกติของการสอนที่ผู้เรียนนำส่งสอน โดยการทำแบบสอบถามผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องมืออื่นใด บนเครือข่ายตามแต่จะกำหนด เป็นการประเมินตามแบบการสอนปกติที่จะต้องตรวจสอบความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์การเรียนของผู้เรียน
การประเมินเว็บไซต์
โซวอร์ด ( Soward, 1997 )  ได้กล่าวถึงการประเมินการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายว่า จะต้องอยู่บนฐานที่ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง  โดยให้นึกถึงเสมอว่าเว็บไซต์ควรเน้นให้ผู้ใช้ได้สะดวกไม่ประสบปัญหาติดขัดใดๆการประเมินเว็บไซต์มีหลักการที่ต้องประเมิน คือ
1.  การประเมินวัตถุประสงค์  ( Purpose )จะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ว่า เพื่ออะไร กลุ่มเป้าหมายคือใคร
2.      การประเมินลักษณะ ( Identification  ) ควรจะทราบได้ทันทีเมื่อเปิดเว็บไซต์เข้าไปว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องใด ซึ่งในหน้าแรก ( Homepage ) จะทำหน้าที่เป็นปกในของหนังสือ( Title ) ที่บอกลักษณะและรายละเอียดของเว็บนั้น
3.  การประเมินภารกิจ ( Authority ) ในหน้าแรกของเว็บจะต้องบอกขนาดของเว็บและรายละเอียดของโครงสร้างของเว็บ  เช่น  แสดงที่อยู่และเส้นทางภายในเว็บ และชื่อผู้ออกแบบเว็บ
4.  การประเมินการจัดรูปแบบและการออกแบบ ( Layout  and  Design )  ผู้ออกแบบควรจะประยุกต์แนวคิดตามมุมมองของผู้ใช้  ความซับซ้อน  เวลา  รูปแบบที่เป็นที่ต้องการของผู้ใช้
5.  การประเมินการเชื่อม ( Links )  การเชื่อมโยงถือว่าเป็นหัวใจของเว็บ เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีผลต่อการใช้    หรือการเพิ่มจำนวนเชื่อมโยงโดยไม่จำเป็นจะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้  ควรใช้เครื่องมือสืบค้นแทนการเชื่อมโยงที่ไม่จำเป็น
6.  การประเมินเนื้อหา  (  Content  )  เนื้อหาที่เป็นข้อความภาพ หรือเสียง  จะต้องเหมาะสมกับเว็บและให้ความสำคัญกับองค์ประกอบทุกส่วนเท่าเทียมกัน
ข้อดี
  • เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล
  • ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
  • ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
  • ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี
  • ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น E-Mail, Webboard, Chat, Newsgroup แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
ข้อเสีย
  • ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
  • ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมย์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
  • ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งาน
  • ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้ 

ข้อคำนึงในการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ
การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ ควรคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้
  • ความพร้อมของอุปกรณ์และระบบเครือข่าย เนื่องด้วยการเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นการปรับเนื้อหาเดิมสู่รูปแบบใหม่ จำเป็นต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์ และระบบเครือข่ายที่พร้อมและสมบูรณ์ เพื่อให้ได้บทเรียนดิจิตอลที่มีคุณภาพ และทันต่อความต้องการเรียน ผู้เรียนสามารถเลือกเวลาเรียนได้ทุกช่วงเวลาตามที่ต้องการ ซึ่งในประเทศไทยพบว่ามีปัญหาในด้านนี้มาก โดยเฉพาะในเขตนอกเมืองใหญ่
  • ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนและผู้สอน ต้องมีความรู้และทักษะทั้งด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพอสมควร โดยเฉพาะผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะอื่นๆ ประกอบเพื่อสร้างเว็บไซต์การสอนที่น่าสนใจให้กับผู้เรียน
  • ความพร้อมของผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องมีความพร้อมทั้งทางจิตใจ และความรู้ คือ จะต้องยอมรับในเทคโนโลยีรูปแบบนี้ ยอมรับการเรียนด้วยตนเอง มีความกระตือรือร้น ตื่นตัว ใฝ่รู้ มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงความคิดเห็นและศึกษาความรู้ใหม่ๆ
  • ความพร้อมของผู้สอน ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้แนะนำ มาเป็นผู้อำนวยความสะดวก ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ กระตุ้นการทำกิจกรรม เตรียมเนื้อหาและแหล่งค้นคว้าที่มีคุณภาพ รวมทั้งความพร้อมด้านการใช้คอมพิวเตอร์ การผลิตบทเรียนออนไลน์ และการเผยแพร่บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • เนื้อหา บทเรียน เนื้อหาบทเรียนจะต้องเหมาะสมกับผู้เรียนให้มากกลุ่มที่สุด มีหลากหลายให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกเรียนได้ด้วยตนเอง มีกิจกรรมวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เลือกใช้สื่อการสอนที่เหมาะสม และเหมาะสมกับความพร้อมของเทคโนโลยี การลำดับเนื้อหาไม่ซับซ้อน ไม่ก่อให้เกิดความสับสน ระบุแหล่งค้นคว้าอื่นๆ ที่เหมาะสม 
  • เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
  • สนับสนุนการเรียนการสอน
  • เกิดเครือข่ายความรู้
  • เน้นการเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตรงตามหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา
  • ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างเมืองและท้องถิ่น 


                        


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น